

อาการออฟฟิศซินโดรม ในมุมมองของแพทย์แผนไทย เกิดจากการที่เลือด และลมในร่างกาย ติดขัด เดินไม่สะดวก ทำให้เกิดการคั่งค้างของสารพิษ โดยมักจะเป็นในในจุด บริเวณ ฐานคอ บ่า คอ สะบัก แล้วจึงมีอาการปวดไปบริเวณศีรษะ กระบอกตา หรือ ร้าวชาลงแขน และปลายนิ้ว เป็นส่วนใหญ่ หรืออีกจุดหนึ่งคือบริเวณหลังส่วนล่าง อาจปวดตื้อ ๆ อยู่ที่เดิม หรือมีอาการร้าวชาลงขา ขาอ่อนแรงได้ ซึ่งอาการเหล่านี้ หากปล่อยไว้นาน อาจทำให้เกิดอาการร้ายแรงขึ้น คือ โรคไมเกรน การกดเบียดเส้นเลือด และเส้นประสาทตามมา เช่น หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาททั้งหมดนี้เกิดจากอิริยาบถในการทำงาน นั่งนาน ยืนนาน พิมพ์งาน ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือมีความเครียดสะสมติดต่อกันเป็นเวลานาน ขาดการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจำ
5 ขั้นตอนการรักษา Office Syndrome

แพทย์แผนไทย สามารถช่วยรักษาออฟฟิศซินโดรม รักษาปวดคอ รักษาปวดหลัง และความเสี่ยงเหล่านี้ ด้วยการกดจุดรักษาแบบราชสำนัก เพื่อคลายกล้ามเนื้อ ปรับสมดุลเลือดลม อย่างตรงจุด ร่วมกับการใช้ยาสมุนไพรปรับสมดุลเฉพาะราย ให้คำแนะนำแก่คนไข้ เพื่อนำไปดูแลตัวเอง อย่างถาวร
แพทย์แผนไทย Abhai Wellness
ความประทับใจของลูกค้า
กดโดนทุกจุด กดเสร็จแล้วโล่งแบบไม่เคยเป็นมาก่อน | กดจุด หยุดออฟฟิสซินโดรม
ช่วงนี้คุณพลอยทำงานหนัก นั่งหน้าคอมพ์เป็นเวลานาน เลยมีอาการปวดตึงช่วงไหล่ และมีท่าทีว่าจะเป็นหนักขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อนคุณพลอยเลยแนะนำให้มาที่อภัยเวลเนสค่ะ
สำหรับผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม สนใจอยากลองรักษาโดยแพทย์แผนไทย ก็สามารถจองคิวเข้ามารักษาได้เลยนะคะ
ปัญหาใหญ่ของ มนุษย์ออฟฟิศ โรคปวดคอปวดหลัง รักษาออฟฟิศซินโดรม อย่างไรดี?
สาเหตุ
- เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย เช่น อาหาร มลภาวะ สภาพอากาศ ความเครียด
- เกิดจากท่าทางในการทำงาน เช่น นั่งทำงานใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน นั่งติดต่อกันนานเกินไป ใช้งานมากเกินกำลัง เช่น ยกของหนัก เอี้ยวตัวผิดท่าทาง
- อุบัติเหตุ
อาการ
- ปวดกล้ามเนื้อบริเวณบ่าและคอ ปวดสะบัก ปวดแขนร้าวลงแขนด้านใน ถึงปลายนิ้วด้านนิ้วก้อย นิ้วนาง และนิ้วกลางครึ่งนิ้ว
- ปวดต้นคอ คอแข็ง หัวไหล่ หายใจขัด หายใจไม่เต็มอิ่ม
- ปวดกล้ามเนื้อบ่า ต้นคอ ร้าวขึ้นกกหู ขมับ ปวดกระบอกตา ปวดร้าวศีรษะ ท้ายทอย หน้าผากและหัวคิ้ว
- มีอาการมึน ตื้อศีรษะ ตาพร่า ตาลาย หูอื้อ
การตรวจรักษาโดยแพทย์แผนไทย รักษาออฟฟิศซินโดรม
- ตรวจชีพจร ตรีธาตุ เพื่อตรวจประเมินธาตุ และสุขภาพองค์รวม
- ก้มหน้าคางชิดอก ไม่ได้องศา
- คลำกล้ามเนื้อบ่า มีอาการแข็งเกร็ง พบก้อน จุดกดเจ็บ การตึงตัว ความร้อน หรือไม่
- ตรวจแนวกระดูกสันหลังต้นคอ จรดบั้นเอว ว่ามีความคดเอียงหรือไม่ วัดเทียบจากระดับสะบักทั้งสองข้าง
- เงยหน้ามองเพดาน อาจเงยไม่ได้องศา และสังเกตโหนกแก้มทั้งสองข้างว่าเท่ากัน หรือไม่
- เอียงคอ หูชิดไหล่ ทั้งสองด้าน ตรวจพบว่าข้างที่เป็นจะไม่ได้องศา
การรักษา
- รักษาออฟฟิศซินโดรมโดยกานวดกดจุดรักษา ดดยการกดจุดเพื่อคลายกล้ามเนื้อชั้นลึก อันเป็นสาเหตุหลักของอาการปวดคอ ปวดหลัง ปวดบ่า
- ประคบสมุนไพร ด้วยลูกประคบสมุนไพรสดผ้าคราม เพื่อเป็นการลดอาการฟกช้ำ หรือเพื่อบรรเทาอาการปวดจากการกดจุดรักษาอาการปวดคอปวดหลัง
ยาตำรับสมุนไพรที่ใช้ รักษาออฟฟิศซินโดรม
กลุ่มยารสร้อน สุขุม เมาเบื่อ เปรี้ยว เค็ม ที่ช่วยกระจายลม ถ่ายเส้น
คำแนะนำเพิ่มเติม หลังการ รักษาออฟฟิศซินโดรม
- ประคบความร้อนชื้น 10-15 นาที เช้า-เย็น
- งดอาหารแสลง เช่น อาหารรสจัด ของหมักดอง ยาเคมี เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
- ห้ามบิด ดัด สลัดคอ แขนและหลังอย่างรุนแรง
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ไม่นอนหลับทับไหล่ข้างที่เป็น
- ไม่นอนหนุนหมอนเกิน 30 องศา
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดโรคและปรับท่าทางในการทำงาน เช่น ยกของหนัก นั่งเป็นเวลานาน
- ท่าบริหารกล้ามเนื้อ เช่น
- ก้มหน้า เงยหน้า ทำ 3ชุด
- หันหน้าซ้าย ขวาใช้มือประคองคาง ทำ3ชุด
- หมุนศีรษะเป็นวงกลม ข้างละ 3รอบ
- ท่าดึงแขนชูแขน 3 จังหวะ
ข้อห้ามในการนวดกดจุดรักษาออฟฟิศซินโดรม
- มีไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส บริเวณที่มีกระดูกแตก หัก ปริ ร้าวที่ยังไม่ติดดี
- ความดันโลหิตสูง (Systolic สูงกว่าหรือเท่ากับ140mmHg. และ/หรือ Diastolic สูงกว่าหรือเท่ากับ 100 mmHg.) มีอาการหน้ามืด ใจสั่น ปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้อาเจียน
- บริเวณที่เป็นแผลเปิด แผลเรื้อรัง หรือบริเวณที่มีรอยโรคผิวหนังที่สามารถติดต่อได้
- ข้อหลวม/ข้อเคลื่อน
ข้อห้ามในการประคบ
- มีไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส
- บริเวณที่เป็นแผลเปิด หรือเลือดออกใหม่ๆ
- บริเวณที่มีการอักเสบ (ปวด บวม แดง ร้อน) จากอุบัติเหตุในช่วง 24 ชม.แรก (เพราะอาจทำให้บวมมากขึ้น ควรประคบด้วยความเย็น)
ข้อควรระวังในการนวดกดจุดรักษาออฟฟิศซินโดรม
- บริเวณที่มีการอักเสบ
- บริเวณที่ผ่าตัดในระยะเวลา 1 เดือน และบริเวณที่ใส่เหล็ก หรือข้อเทียม
- ข้อหลวม/ข้อเคลื่อน
- หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุ และเด็ก
- บริเวณที่มีหลอดเลือดดำอักเสบ (DVT)
- กระดูกพรุน
ข้อควรระวังในการประคบ
- บริเวณที่มีกระดูกแตก หัก ปริ ร้าวที่ยังไม่ติดดี
- ผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และเบาหวาน
- หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุ และเด็ก