อาการปวดคอปวดหลัง ออฟฟิศซินโดรม ในมุมมองของแพทย์แผนไทย รักษาปวดคอปวดหลัง เกิดจากการที่เลือด และลมในร่างกาย ติดขัด เดินไม่สะดวก ทำให้เกิดการคั่งค้างของสารพิษ โดยมักจะเป็นในในจุด บริเวณ ฐานคอ บ่า คอ สะบัก แล้วจึงมีอาการปวดไปบริเวณศีรษะ กระบอกตา หรือ ร้าวชาลงแขน และปลายนิ้ว เป็นส่วนใหญ่ หรืออีกจุดหนึ่งคือบริเวณหลังส่วนล่าง อาจปวดตื้อ ๆ อยู่ที่เดิม หรือมีอาการร้าวชาลงขา ขาอ่อนแรงได้
ซึ่งอาการเหล่านี้ หากปล่อยไว้นาน อาจทำให้เกิดอาการร้ายแรงขึ้น คือ โรคไมเกรน การกดเบียดเส้นเลือด และเส้นประสาทตามมา เช่น หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
ทั้งหมดนี้เกิดจากอิริยาบถในการทำงาน นั่งนาน ยืนนาน พิมพ์งาน ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือมีความเครียดสะสมติดต่อกันเป็นเวลานาน ขาดการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจำ
แพทย์แผนไทย สามารถช่วยลดอาการออฟฟิศซินโดรม รักษาปวดคอปวดหลัง และความเสี่ยงเหล่านี้ ด้วยการกดจุดรักษาแบบราชสำนัก เพื่อคลายกล้ามเนื้อ ปรับสมดุลเลือดลม อย่างตรงจุด ร่วมกับการใช้ยาสมุนไพรปรับสมดุลเฉพาะราย ให้คำแนะนำแก่คนไข้ เพื่อนำไปดูแลตัวเอง อย่างถาวร
แพทย์แผนไทย สามารถช่วยรักษาปวดคอปวดหลัง และความเสี่ยงเหล่านี้ ด้วยการกดจุดรักษาแบบราชสำนัก เพื่อคลายกล้ามเนื้อ ปรับสมดุลเลือดลม อย่างตรงจุด ร่วมกับการใช้ยาสมุนไพรปรับสมดุลเฉพาะราย ให้คำแนะนำแก่คนไข้ เพื่อนำไปดูแลตัวเอง อย่างถาวร
ปัญหาใหญ่ของการ รักษาปวดคอปวดหลัง รักษาอย่างไรดี?
สาเหตุ
- 1.เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย เช่น อาหาร มลภาวะ สภาพอากาศ ความเครียด
- 2.เกิดจากท่าทางในการทำงาน เช่น นั่งทำงานใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน นั่งติดต่อกันนานเกินไป ใช้งานมากเกินกำลัง เช่น ยกของหนัก เอี้ยวตัวผิดท่าทาง
- 3.อุบัติเหตุ
อาการ
- 1.ปวดกล้ามเนื้อบริเวณบ่าและคอ ปวดสะบัก ปวดแขนร้าวลงแขนด้านใน ถึงปลายนิ้วด้านนิ้วก้อย นิ้วนาง และนิ้วกลางครึ่งนิ้ว
- 2.ปวดต้นคอ คอแข็ง หัวไหล่ หายใจขัด หายใจไม่เต็มอิ่ม
- 3.ปวดกล้ามเนื้อบ่า ต้นคอ ร้าวขึ้นกกหู ขมับ ปวดกระบอกตา ปวดร้าวศีรษะ ท้ายทอย หน้าผากและหัวคิ้ว
- 4.มีอาการมึน ตื้อศีรษะ ตาพร่า ตาลาย หูอื้อ
การตรวจรักษาโดยแพทย์แผนไทย
- 1.ตรวจชีพจร ตรีธาตุ เพื่อตรวจประเมินธาตุ และสุขภาพองค์รวม
- 2.ก้มหน้าคางชิดอก ไม่ได้องศา
- 3.คลำกล้ามเนื้อบ่า มีอาการแข็งเกร็ง พบก้อน จุดกดเจ็บ การตึงตัว ความร้อน หรือไม่
- 4.ตรวจแนวกระดูกสันหลังต้นคอ จรดบั้นเอว ว่ามีความคดเอียงหรือไม่ วัดเทียบจากระดับสะบักทั้งสองข้าง
- 5.เงยหน้ามองเพดาน อาจเงยไม่ได้องศา และสังเกตโหนกแก้มทั้งสองข้างว่าเท่ากัน หรือไม่
- 6.เอียงคอ หูชิดไหล่ ทั้งสองด้าน ตรวจพบว่าข้างที่เป็นจะไม่ได้องศา
การรักษา
- 1. อาการปวดคอปวดหลัง ออฟฟิศซินโดรมโดยกานวดกดจุด ดดยการกดจุดเพื่อคลายกล้ามเนื้อชั้นลึก อันเป็นสาเหตุหลัก
- 2. ประคบสมุนไพร ด้วยลูกประคบสมุนไพรสดผ้าคราม เพื่อเป็นการลดอาการฟกช้ำ หรือเพื่อบรรเทาอาการ จากการกดจุดรักษาออฟฟิศซินโดรม
ยาตำรับสมุนไพรที่ใช้รักษาปวดคอปวดหลัง
กลุ่มยารสร้อน สุขุม เมาเบื่อ เปรี้ยว เค็ม ที่ช่วยกระจายลม ถ่ายเส้น
คำแนะนำเพิ่มเติม รักษาปวดคอปวดหลัง
- 1. ประคบความร้อนชื้น 10-15 นาที เช้า-เย็น
- 2. งดอาหารแสลง เช่น อาหารรสจัด ของหมักดอง ยาเคมี เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
- 3. ห้ามบิด ดัด สลัดคอ แขนและหลังอย่างรุนแรง
- 4. พักผ่อนให้เพียงพอ
- 5. ไม่นอนหลับทับไหล่ข้างที่เป็น
- 6. ไม่นอนหนุนหมอนเกิน 30 องศา
- 7. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดโรคและปรับท่าทางในการทำงาน เช่น ยกของหนัก นั่งเป็นเวลานาน
- 8. ท่าบริหารกล้ามเนื้อ เช่น
- 9. ก้มหน้า เงยหน้า ทำ 3ชุด
- 10. หันหน้าซ้าย ขวาใช้มือประคองคาง ทำ3ชุด
- 11. หมุนศีรษะเป็นวงกลม ข้างละ 3รอบ
- 12. ท่าดึงแขนชูแขน 3 จังหวะ
ข้อห้ามในการนวดกดจุดรักษาปวดคอปวดหลัง
- 1. มีไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส บริเวณที่มีกระดูกแตก หัก ปริ ร้าวที่ยังไม่ติดดี
- 2. ความดันโลหิตสูง (Systolic สูงกว่าหรือเท่ากับ140mmHg. และ/หรือ Diastolic สูงกว่าหรือเท่ากับ 100 mmHg.) มีอาการหน้ามืด ใจสั่น ปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้อาเจียน
- 3. บริเวณที่เป็นแผลเปิด แผลเรื้อรัง หรือบริเวณที่มีรอยโรคผิวหนังที่สามารถติดต่อได้
- 4. ข้อหลวม/ข้อเคลื่อน
ข้อห้ามในการประคบ
- 1. มีไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส
- 2. บริเวณที่เป็นแผลเปิด หรือเลือดออกใหม่ๆ
- 3. บริเวณที่มีการอักเสบ (ปวด บวม แดง ร้อน) จากอุบัติเหตุในช่วง 24 ชม.แรก (เพราะอาจทำให้บวมมากขึ้น ควรประคบด้วยความเย็น)
ข้อควรระวังในการนวดกดจุดรักษาปวดคอปวดหลัง
- 1. บริเวณที่มีการอักเสบ อาการปวดคอปวดหลัง
- 2.บริเวณที่ผ่าตัดในระยะเวลา 1 เดือน และบริเวณที่ใส่เหล็ก หรือข้อเทียม
- 3. ข้อหลวม/ข้อเคลื่อน
- 4. หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุ และเด็ก
- 5. บริเวณที่มีหลอดเลือดดำอักเสบ (DVT)
- 6. กระดูกพรุน
ข้อควรระวังในการประคบ
- 1. บริเวณที่มีกระดูกแตก หัก ปริ ร้าวที่ยังไม่ติดดี
- 2. ผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และเบาหวาน
- 3. หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุ และเด็ก
อย่าปล่อยให้อาการปวดคอปวดหลัง มาบั่นทอนความสุขในชีวิตประจำวันของคุณ
อาการปวดคอปวดหลัง มักพบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกับคนวัยทำงานที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน ๆ หรือนั่งผิดท่า
หลายคนเข้าใจว่าเป็นอาการของออฟฟิศซินโดรม จึงละเลยคิดว่าสามารถหายได้เอง แต่กลับกลายเป็นอาการ “ปวดคอเรื้อรัง” หรือ “ปวดหลังเรื้อรัง” จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งการรักษาปวดคอ รักษาปวดหลัง ด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย อาจเปลี่ยนให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้ โดยไม่ต้องกินยา หรือใช้เรื่องมือิเล็กทรอนิกส์
หากคุณเป็นคนหนึ่ง ที่ไม่ได้เจ็บป่วยเป็นโรคอะไร
แต่ในทุก ๆ วันยังรู้สึกไม่สบายตัว เมื่อยเนื้อตัว ปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ ผิวพรรณไม่สดใส ไม่สดชื่นเหมือนตอนที่เป็นเด็กกว่านี้
คุณอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับโรคลมก็ได้นะ
- - มักปวดเมื่อยตามตัวเป็นประจำ บริเวณ คอ บ่า ไหล่ สะบัก หลัง บั้นเอง
- - ปวดกระบอกตา สายตาพร่ามัว
- - ปวดศีรษะในบางวัน
- - บางครั้งมีอาการชา ปลายมือ หรือชาขา
- - รู้สึกไม่สดชื่น อ่อนเพลียระหว่างวัน
- - นอนไม่ค่อยหลับเพราะเมื่อตัว
ถ้าคุณเริ่มมีอาการเหล่านี้บ้างแล้ว
แสดงว่าคุณอาจมีอาการของโรคกลุ่มออฟฟิศซินโดรม ที่ทุกคนรู้จักกันดี
สาเหตุปวดคอปวดหลัง เรื้อรัง
คนส่วนใหญ่ที่มีอาการปวดคอปวดหลังเรื้อรัง คือการใช้งานกล้ามเนื้อ และข้อต่อที่ผิดไปจากภาวะปกติ เกิดจากการทำงานในพื้นที่จำกัด และขาดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ และข้อทำให้เกิดอาการปวดคอ ปวดหลัง โดยมีสาเหตุมาจากพฤติกรรม ดังต่อไปนี้
- การนั่งทำงานติดต่อกันนาน ๆ ในท่าเดิม
- การเพ่งจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานเกิน 1 ชั่วโมง
- การพิมพ์แป้นคีย์บอร์ดที่ไม่มีตัวรองรับข้อมือ ส่งผลให้เกิดกรอักเสบบริเวณเส้นเอ็น รวมทั้งเกิดภาวะพังผืดหนา ทำให้เกิดอาการชาบริเวณนิ้ว และข้อมือได้
- โต๊ะ เก้าอี้ที่ใช้นั่งทำงานไม่เหมาะกับสรีระร่างกาย ไม่มีพนักพิง และที่ท้าวแขนที่รองรับหลังและช่วงแขนอย่างมีประสิทธิภาพ
สัญญาณเตือนปวดคอปวดหลังเรื้อรัง
อาการที่เป็นสัญญาณเตือนปวดคอ ปวดหลังเรื้อรังที่สามารถสังเกตได้ง่าย ๆ คือ
- ปวดคอหรือปวดหลังเป็นระยะเวลานานตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป
- ชาอ่อนแรงที่มือหรือขาร่วมด้วย รักษาด้วยวิธีรับประทานยาหรือทำกายภาพแล้วไม่หายขาด
- ปวดรุนแรงจนรบกวนการดำเนินชีวิต ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ
วิธีดูแล และบรรเทาอาการปวดคอปวดหลัง ด้วยตนเองเบื้องต้น
- พยายามนั่งหลังตรง
- ออกกำลังกายแบบยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หรือเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ
- นวดเบาๆ บริเวณที่มีอาการปวด
- ประคบร้อน หรือเย็น
- รับประทานยาบรรเทาอาการปวด
หากไม่ดีขึ้น ให้รีบมาพบแพทย์ เพื่อตรวจ และ รักษาปวดคอปวดหลัง อย่างถูกต้อง
Abhai Wellness ช่วยให้อาการปวดคอปวดหัว ของคุณหายไป
โปรแกรมการรักษาปวดคอปวดหลัง พร้อมผ่อนคลายที่พิเศษเฉพาะของ Abhai Wellness
นวดปรับสมดุล รักษาปวดคอปวดหลัง ปรับปรุงโครงสร้างร่างกายที่ผิดปกติ อันเป็นสาเหตุหลักของอาการปวด
Abhai Wellness ศาสตร์การรักษาตามแบบฉบับแพทย์แผนไทย รักษาปวดคอปวดหลัง โดยมีทีมแพทย์แผนไทยผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ และโครงสร้างร่างกาย รักษาปวดคอ รักษาปวดหลัง โดยเฉพาะ
Abhai Wellness มิติใหม่ของการรักษาปวดคอปวดหลัง ด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย และสมุนไพรอันทรงคุณค่า อาการเหล่านี้ ไม่ทำให้กลับมาปวดอีก
ออฟฟิศซินโดรม ในมุมมองของแพทย์แผนไทย เกิดจากการที่เลือด และลมในร่างกาย ติดขัด เดินไม่สะดวก ทำให้เกิดการคั่งค้างของสารพิษ โดยมักจะเป็นในในจุด บริเวณ ฐานคอ บ่า คอ สะบัก แล้วจึงมีอาการปวดไปบริเวณศีรษะ กระบอกตา หรือ ร้าวชาลงแขน และปลายนิ้ว เป็นส่วนใหญ่ หรืออีกจุดหนึ่งคือบริเวณหลังส่วนล่าง อาจปวดตื้อ ๆ อยู่ที่เดิม หรือมีอาการร้าวชาลงขา ขาอ่อนแรงได้
ซึ่งอาการเหล่านี้ หากปล่อยไว้นาน อาจทำให้เกิดอาการร้ายแรงขึ้น คือ โรคไมเกรน การกดเบียดเส้นเลือด และเส้นประสาทตามมา เช่น หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
ทั้งหมดนี้เกิดจากอิริยาบถในการทำงาน นั่งนาน ยืนนาน พิมพ์งาน ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือมีความเครียดสะสมติดต่อกันเป็นเวลานาน ขาดการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจำ แพทย์แผนไทย สามารถช่วยลดอาการ รักษาปวดคอปวดหลัง และความเสี่ยงเหล่านี้ ด้วยการกดจุดรักษาแบบราชสำนัก เพื่อคลายกล้ามเนื้อ ปรับสมดุลเลือดลม อย่างตรงจุด ร่วมกับการใช้ยาสมุนไพรปรับเฉพาะราย ให้คำแนะนำแกคนไข้ เพื่อนำไปดูแลตัวเอง อย่างถาวร
Copyright© ABHAI WELLNESS 2021.All right reserved.